6 วิธีเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่น

การอาบน้ำอุ่นกลายเป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์ของผู้คนไม่ว่าจะอยู่ในสภาพอากาศใดก็ตาม
14 ธันวาคม 2021

ปัจจุบัน “เครื่องทําน้ำอุ่น” กลายเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่พบเห็นได้ตามบ้านเรือนไปแล้ว น้ำอุ่นที่ไหลออกมาจากฝักบัวทุกครั้งที่อาบน้ำทำให้ใครหลายๆ คนคุ้นเคยกับการอาบน้ำอุ่นที่จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์ของผู้คนไม่ว่าจะอยู่ในสภาพอากาศใดก็ตาม แล้วจะเลือก “เครื่องทําน้ำอุ่น” อย่างไร ? ให้เหมาะสมกับบ้านของเรามากที่สุด

วันนี้ขอแนะนำ 6 วิธีง่ายๆ ที่ควรคำนึงถึงเมื่อคุณกำลังจะตัดสินใจซื้อเครื่องทำน้ำอุ่น ดังนี้

1. ความต้องการใช้

สิ่งแรกที่คุณต้องคำนึงถึงสิ่งแรกเมื่อคิดที่จะซื้อ “ เครื่องทําน้ําอุ่น ” คือความต้องการในด้านการใช้งาน เช่น หากคุณอาศัยอยู่ในที่พักประเภทคอนโดมิเนียม หรือเป็นครอบครัวที่มีขนาดเล็กและต้องการที่จะใช้น้ำอุ่นเฉพาะเวลาอาบน้ำเท่านั้นท่านควรเลือกใช้เครื่องทำน้ำอุ่นประเภทที่ Single Point ที่ให้ความร้อนจากเครื่องทำน้ำอุ่น 1 ตัวต่อ 1 จุดเท่านั้น แต่หากเป็นครอบครัวใหญ่และท่านต้องการที่จะใช้น้ำอุ่นหลายๆ จุดในบ้าน อาทิ ในห้องอาบน้ำใหญ่ หรืออ่างล้างหน้า แม้กระทั่งอ่างอาบน้ำ และในห้องน้ำสำรอง ท่านควรเลือกใช้เครื่องทำน้ำร้อน Multi Point ที่ให้ความร้อนของน้ำได้หลายจุดพร้อมๆ กันผ่านท่อน้ำร้อนและวาล์วที่ผสมที่ติดตั้งไว้ในบ้าน แน่นอนว่าเครื่องทำน้ำร้อนประเภท Multi Point อาจให้ความสะดวกสบายมากกว่า แต่ยิ่งให้ความร้อนหลายจุดพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ก็ยิ่งเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกันครับ

1200x600.jpg

2. กำลังไฟที่บ้าน

เครื่องทำน้ำอุ่นที่มีกำลังไฟที่หลากหลายขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานของเครื่องทำน้ำอุ่น ก่อนเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่น ท่านควรตรวจดูกำลังไฟในบ้านของคุณโดยให้สังเกตที่มิเตอร์ไฟ ตัวอย่างเช่น หากที่บ้านท่านใช้มิเตอร์ไฟฟ้า ขนาด 5(15) คุณควรใช้จะเครื่องทำน้ำอุ่นกำลังไฟไม่เกิน 3,500 วัตต์ หากที่บ้านใช้มิเตอร์ไฟฟ้าใน ขนาด 15(45) ท่านควรใช้เครื่องทำน้ำอุ่นที่กำลังไฟไม่เกิน 4,500 วัตต์ หรือ 6,000 วัตต์ ครับ

3. ประเภทของหม้อต้ม

เป็นวัสดุที่ใช้ในการทำหม้อต้มคืออีกส่วนหนึ่งที่สำคัญที่ต้องพิจารณาเมื่อซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นแล้ว เพราะหม้อต้มของเครื่องทำน้ำอุ่นนั้นมีหลายประเภท เช่น “หม้อต้มทองแดง” มีข้อดีนั้นคือทนทานจากความร้อนจากแรงดันของน้ำ ให้อายุการใช้งานที่ยาวนานนั้น แต่ข้อเสียคือจะมีราคาที่สูง “หม้อต้มแบบพลาสติก” มีข้อดีนั้นเนื่องจากให้ความร้อนที่เร็ว จึงเป็นการประหยัดพลังงานมากกว่าและมีราคาที่ถูกกว่าอีกด้วย แต่อาจมีอายุการใช้งานนั้นไม่ค่อยที่จะคงทน ขณะที่ “หม้อต้มที่ใช้ขดลวดทองแดงในการให้ความร้อน” จะให้ความร้อนที่รวดเร็ว แต่มีข้อเสียคืออุณหภูมิของน้ำร้อนจะไม่คงที่นั้นเอง

4. เทคโนโลยีที่ช่วยประหยัดพลังงาน

เครื่องทำน้ำอุ่นคือหนึ่งในของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีไว้ภายในบ้านที่ใช้กำลังไฟมาก การเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นควรมองหาเครื่องที่ได้รับมาตรฐานและประหยัดไฟเบอร์ 5 นอกจากนี้ยังควรมองหาเทคโนโลยีที่จะช่วยประหยัดการใช้พลังงาน อาทิ เทคโนโลยี Aero Jet สิทธิบัตรเฉพาะ “สตีเบล เอลทรอน” ซึ่งเป็นการดึงออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศเข้าไปแทนที่น้ำ จึงช่วยประหยัดน้ำ แต่ยังคงความแรงของสายน้ำอุ่นเท่าเดิมและช่วยประหยัดพลังงานได้ถึง 40%

5. ความปลอดภัย

น้ำและไฟฟ้าเป็นสิ่งอันตรายถึงชีวิต ดังนั้นการเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยเป็นอย่างมาก นอกเหนือจากการติดตั้งสายดิน ผู้บริโภคควรมองหาเครื่องทำน้ำอุ่นที่มีระบบตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติ เมื่อมีไฟฟ้ารั่ว หรือมีขนาดเกิน ELSD (Earth Leakage Safety Device) หรือ ELCB (Earth Leakage Circuit Breaker), ระบบตัดการทำงานของเครื่องโดยอัตโนมัติเมื่ออุณหภูมิของน้ำที่สูงเกินขนาด 2 ขั้นตอนของ (ในเครื่องทำน้ำอุ่น) เทคโนโลยีจาก “สตีเบล เอลทรอน” Double Auto Thermostat จะมีมาตรฐานป้องกันไม่ให้น้ำเข้าเครื่อง (International Protection Rating) IP 24 และ IP 25 แม้กระทั่งความปลอดภัยที่เล็กๆ น้อยๆ อาทิ เช่น ตัวของเครื่องควรมาพร้อมยางที่ป้องกันน้ำเข้าทางช่องร้อยสายไฟ สายไฟทุกเส้นจะได้มาตรฐานและมีระบบป้องกันหม้อทำความร้อนไหม้ (No Run Dry) ระบบ Automatic Flow Switch on/off Control ช่วยควบคุมเครื่องให้ทำงานเฉพาะเวลาที่มีน้ำไหลผ่านเท่านั้น

6. การบริการหลังการขายและการการันตี

ควรเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นที่มีการประกันที่ครอบคลุม มีศูนย์ซ่อมที่สามารถติดต่อได้ง่าย อาทิ มีเบอร์โทรศัพท์ตรงสำหรับ call center หรือพนักงานที่สามารถให้คำตอบและข้อมูลแก่ลูกค้าได้อย่างถูกต้องและมีความเชียวชาญ ชำนาญ

ข้อแนะนำในการใช้เครื่องทำน้ำอุ่นอย่างปลอดภัย

เมื่อฤดูหนาวมาเยือน “เครื่องทำน้ำอุ่น” นับเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านชนิดหนึ่งที่หลายๆ คนต้องนึกถึงทุกครั้งที่อาบน้ำ แต่การติดตั้ง และการใช้เครื่องทำน้ำอุ่นอย่างถูกวิธีก็ถือเป็นเรื่องที่ต้องคำนึกถึงความปลอดภัย เพราะอาจจะอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้น ควรมีการศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบก่อนการติดตั้ง และใช้งานเครื่องทำน้ำอุ่นทุกครั้ง

  1. เลือกใช้เครื่องทำน้ำอุ่นที่มีระบบนิรภัย และติดตั้งอย่างถูกวิธี เครื่องทำน้ำอุ่นต้องมีอุปกรณ์ป้องกันไฟดูดภายใน และ/หรือติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟดูดเพิ่ม
    ต่อเครื่องทำน้ำอุ่น เข้ากับระบบสายดินภายในบ้านเพื่อป้องกันไฟดูด หากในบ้านไม่มีระบบสายดิน ให้ต่อสายดินเข้ากับจุดต่อภายในเครื่องทำน้ำอุ่น จากนั้นลากสายต่อลงดิน โดยใช้แท่งทองแดงทำเป็นหลักดินปักให้ลึกอย่างน้อย 1.5 เมตร
    (การใช้เครื่องทำน้ำอุ่นต้องมีทั้งระบบป้องกันไฟดูด และติดตั้งสายดินจึงจะมั่นใจว่าปลอดภัย)
  2. ไม่ควรใช้สายฝักบัวที่เป็นโลหะกับเครื่องทำน้ำอุ่นเด็ดขาด เพราะจะมีโอกาสนำไฟฟ้ากรณีไฟดูดได้ง่าย และสายฝักบัวควรอยู่ในสภาพดีไม่งอ หรือหัก
  3. ตรวจเช็คอุปกรณ์ป้องกันไฟดูด ELCB หรือ EELS อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง โดยการกดปุ่ม Test ถ้าปกติเครื่องก็จะดับทันที เสร็จแล้วก็กด RESET เพื่อให้เครื่องทำงานตามปกติ ถ้ากด TEST แล้วพบว่าเครื่องไม่ดับ ต้องหยุดใช้งานทันที
  4. ควรมีการตรวจสอบสภาพสายไฟ และสายดินว่าไม่มีการชำรุด หรือจุดเชื่อมต่อหลุด
  5. ควรปิดเครื่องที่ปุ่ม On/Off ทุกครั้ง เมื่อไม่ใช้งาน ไม่ควรปิดเฉพาะวาล์วน้ำ เพราะอาจจะทำให้หม้อต้มเสียหายได้
  6. ควรมีการตรวจสอบ และล้างฟิลเตอร์กรองน้ำเข้า เพื่อให้มั่นใจว่าน้ำสามารถไหลเข้าเครื่องได้ปกติโดยไม่มีการอุดตันที่ฟิลเตอร์
  7. ตรวจสอบระบบท่อน้ำ ไม่ควรให้มีรอยรั่วซึม เพราะอาจก่อให้เกิดไฟดูดได้
  8. เช็ด หรือขัดเพื่อทำความสะอาดฝักบัว เพื่อขจัดสิ่งอุดตัด ให้น้ำไหลออกจากฝักบัวได้ตามปกติ
  9. ทำความสะอาดภายนอกตัวเครื่อง ควรใช้ผ้าชุบน้ำบิดให้แห้งแล้วจึงเช็ดทำความสะอาด
  10. หากพบว่าอุปกณ์ส่วนไหนชำรุดหรือเสียหาย ควรหยุดใช้เครื่องทำน้ำอุ่นทันที และแจ้งแจ้งศูนย์บริการหรือช่างผู้ชำนาญการโดยเฉพาะมาดำเนินในการแก้ไข ไม่ควรดำเนินการแก้ไขด้วยตนเองเพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายได้

การดูแลรักษาเครื่องทำน้ำอุ่น

  1. อย่างอ หรือพับสายฝักบัว เพราะจะทำให้สายฝักบัวชำรุดได้
  2. หมั่นเช็ดทำความสะอาดฝักบัว เพราะอาจมีตะกรันไปอุดตันทางออกของน้ำ
  3. หมั่นตรวจเช็คสวิตช์ป้องกันกันไฟรั่วไฟดูด (ELCB) อย่างน้อยเดือนละครั้ง
  4. ก่อนทำความสะอาดเครื่อง ต้องปิดเบรคเกอร์ควบคุมไฟฟ้าทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัย
  5. การทำความสะอาดภายนอกตัวอาดเครื่องควรใช้ผ้านุ่มชุบน้ำบิดให้แห้ง แล้วเช็ดทำความสะอาด
  6. อย่านำผ้าเปียกชุ่มน้ำไปเช็ดทำความสะอาด หรือฉีดพ่นน้ำที่ตัวเครื่อง เพราะอาจทำให้เกิดไฟฟ้าช็อตได้

1200x600-2.jpg

ท้ายสุดเลือกกำลังวัตต์ให้เหมาะกับการใช้งานวัตต์ (Watt) ในที่นี้คือ ขนาดกำลังไฟฟ้าของเครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องที่มีกำลังวัตต์มากทำความร้อนสูง ก็ยิ่งกินไฟมากโดยเลือกให้เหมาะสมกับสภาพอากาศของสถานที่ที่นำไปใช้ อย่างกรุงเทพฯ และปริมณฑลเลือกเครื่องทำน้ำอุ่นขนาด 3,500 - 4,500 วัตต์ก็เพียงพอแล้ว เพราะสภาพอากาศไม่ได้หนาวเย็นมากยังทำให้เราใช้เครื่องทำน้ำอุ่นประหยัดไฟฟ้าและประหยัดเงินในกระเป๋าอีกต่างหาก แต่สำหรับพื้นที่อย่างภาคเหนือตอนบนของไทย โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว มีสภาพอากาศที่หนาวเย็นมาก ๆ ก็ควรเลือกเครื่องทำน้ำอุ่นที่มีกำลังวัตต์สูงหน่อยประมาณ 6,000 วัตต์ค่ะ

recommended-for-you.jpg